ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษารถ

ดูแลรักษารถยนต์ แบบง่ายๆด้วยตัวคุณเอง ... ของคนมี
รถที่ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายคือการดูแลรักษารถสุดที่รัก
ของตัวเองให้อยู่กับเราไปได้นานที่สุด

ขั้นตอนการดูแลรักษารถของคุณ

การตรวจสอบรถก่อนออกใช้งานประจำวัน
20140707163214.png

การตรวจสอบรถก่อนออกใช้งานประจำวัน

ก่อนออกใช้งานทุกครั้ง ผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบสภาพก่อนใช้งานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
และความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากสภาพของรถผู้ขับขี่จะต้องตรวจสภาพรถ
ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ยาง ดอกยางควรมีมากเพียงพอต่อการยึดเกาะถนนและการทรงตัวที่ดี
    แรงดันของลมยางต้อง เป็นไปตามบริษัทยางกำหนดให้
  • ที่ปัดน้ำฝน ใบปัดน้ำฝนตลอดถังพักน้ำ และอุปกรณ์ปัดน้ำฝนต้องอยู่ในสภาพ ใช้งานได้ดี
  • แบตเตอรี่ ตรวจสภาพแบตเตอรี่ และน้ำกลั่นว่าอยู่ระดับที่กำหนด
  • หม้อน้ำ สภาพหม้อน้ำและถังพักน้ำมีน้ำอยู่ตามระดับที่ต้องการเสมอ
  • ใบพัดลมและท่อยาง ตรวจสภาพใบพัดลม และท่อยางน้ำบน – ล่าง
    ยางอุดตาน้ำให้อยู่ใน สภาพใช้งานได้ดี
  • สายพาน ต้องอยู่ในสภาพดีไม่หย่อนมีรอยปริหรือหัก
  • น้ำมันต่าง ๆ ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย น้ำมันเกียร์อัตโนมัติว่ามี
    น้ำมันอยู่ในระดับที่บริษัทรถแต่ละประเภทกำหนดอยู่
  • เครื่องยนต์ดีเซล ควรตรวจดูไส้กรองน้ำมันโซล่า หรือถอดล้างทำความสะอาดอย่าให้มีน้ำ
    อยู่และควรปิดฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้สนิดด้วย
  • ระดับน้ำมันเบรค น้ำมันคลัชท์ ควรตรวจว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องและตรวจการรั่วซึมของ
    วงจรเบรค เช่น บริเวณแม่ปั้มเบรค ลูกยางเบรคแต่ละล้อมีการรั่วซึมหรือไม่
  • ตรวจดูสายไฟแรงสูง (สายหัวเทียน) อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
  • ระบบสัญญาณ และไฟแสงสว่าง ตรวจด้านหน้ารถและท้ายรถยังอยู่นาภาพที่ใช้งานได้ดี
การใช้และการตรวจสอบยาง
การใช้และการตรวจสอบยาง
  1. นัทยึดล้อต้องไม่คลายตัว กะทะล้อไม่ชำรุด
  2. ที่เติมลมยางทุกเส้นต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
  3. ตะกั่วถ่วงล้อต้องไม่หลุดจากกะทะล้อ
  4. ตรวจสภาพการสึกของดอกยาง
  5. ตรวจลมยางด้วยเกจ์วัดอย่างน้อยเดือนละครั้งตรวจเช็คประจำวัน ดูลักษณะดอกยาง กดลงบนพื้น
  6. ตรวจดูการรั่วของลมยางที่จุ๊บเติมลม ตรวจสภาพยางล้อทั่วไปว่าตะปู หรือสิ่งอื่นที่ฝังอยู่ในเนื้อยาง
  7. การเปลี่ยนยางเส้นใหม่ จงใช้ยางที่มีขนาดหรือโครงสร้างเหมืนกันกับยางที่ติดมากับรถ และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่า
การตรวจลมยาง
ควรกระทำอย่างน้อยที่สุดเดือนละครั้งรวมทั้งยางอะไหล่ด้วย ลมยางที่เกินกำหนดจะทำให้อายุ ของยางสั้นลงและไม่ปลอดภัยในการขับขี่หากลมยางอ่อนเกินไป จะทำให้ยางสึกหรอเร็ว พวงมาลัยหนัก  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก และยางอาจระเบิดได้ง่าย หากลมยางมากเกินไป การขับขี่จะไม่นิ่มนวล, ดอกยางตรงกลางสึกเร็วและอาจเกิดอันตรายจากยางกระแทกกับหิน ฯลฯ

การตรวจลมยางและข้อแนะนำ
ข้อแนะนำในการตรวจลมยาง
  • ตรวจลมยางขณะที่ล้อยังเย็นอยู่คือ จอดพักรถไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงและขับมาไม่เกิน 1 กม. จะทำให้การตรวจลมยางแน่นอนยิ่งขึ้นใช้มาตรวัดลมยางทุกครั้ง การใช้ตาเปล่าสังเกตดูมีโอกาสผิดพลาดมาก  ถ้าลมยางผิดค่าจากที่กำหนด 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ก็จะเป็นผลการบังคับพวงมาลัยหรือการขับขี่เมื่อเสร็จจากขับใหม่ๆ ไม่ควรปล่อยลมยางออกเพราะการใช้งานจะทำให้ยางร้อนและความดันลมยางเพิ่มขึ้น
ลักษณะการสึกหรอของดอกยางแบบต่างๆ
ลักษณะการสึกของดอกยางแบบต่างๆ
  1. การสึกหรอเนื่องจาก ลมยางอ่อน
  2. การสึกหรอเนื่องจาก ลมยางแข็งเกินไป
  3. การสึกหรอเนื่องจาก มุมศูนย์ล้อคลาดเคลื่อนจากมาตรฐาน
  4. การสึกหรอเนื่องจาก เสี้ยวรถด้วยความเร็วสูง
  5. การสึกหรอเป็นหลุม เกิดจากสาเหตุหลายอย่างเช่น ล้อไม่ได้ศูนย์, ปรับเบรกไม่เท่ากัน, ยางไม่สมดุล, ลมยางอ่อน, จานเบรกเบี้ยว, ลูกหมายปีกนกสึกหรอ เป็นต้น
น้ำยาล้างกระจก
น้ำยาล้างกระจก
  • ตรวจเช็คโดยการมองระดับของน้ำ โดยการมองผ่านเข้าไปยังถังน้ำล้างกระจกต่ำ ให้เติมน้ำล้างกระจกให้เต็ม
การตรวจสอบแบตเตอรี่และสภาพน้ำกรด
การตรวจสอบแบตเตอรี่และสภาพน้ำกรด
  1.   ตรวจสอบแบตเตอรี่เกี่ยวกับรอยร้าว, ขั้วหลวม, การกัดกร่อน, ขายึดหลวมหรือไม่
  • ถ้าขั้วแบตเตอรี่ถูกกัดกร่อนและมีคราบเกลือล้างออกด้วยน้ำอุ่นผสมโซดา เมื่อล้างสะอาดแล้วทาจาระบีที่ขั้ว
  • ขันขายึดแบตเตอรี่ พอให้แบตเตอรี่ยึดติดกับแท่นอย่าขันให้แน่นเกินไป เพราะอาจจะทำให้แบตเตอรี่แตกได้
  •   2.   ตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ หากระดับต่ำเกินไปเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับ  ระวังอย่าให้น้ำกรด จากแบตเตอรี่เข้าตาหรือเปื้อนเสื้อผ้า
  • เมื่อตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ ควรตรวจให้ครบทุกช่อง อย่าตรวจเพียงหนึ่งหรือสองช่อง
  • ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมด้วยน้ำกลั่นเท่านั้น ห้ามเติมด้วยน้ำชนิดอื่นโดยเด็ดขาด อย่าเติมจนล้นเพราะน้ำกรดในแบตเตอรี่จะไหลออกมากัดกร่อนภายนอกและยังทำให้แบตเตอรี่เกิดความเสียหายอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อเติมน้ำกลั่นแล้ว ปิดฝาให้สนิท
  • สาเหตุที่แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น
    สาเหตุที่แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น
    1. ระดับน้ำกรดต่ำเกินไป
    2. ไม่ได้ใช้น้ำกลั่นเติม
    3. ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานนาน
    4. อัดไฟมากเกินไป (ชาร์ทด้วยกระแสสูง)
    การตรวจระดับน้ำหล่อเย็น
    การตรวจระดับน้ำหล่อเย็น
    • ดูระดับหล่อเย็นในหม้อพัก ระดับที่ใช้ได้ต้องอยู่ระหว่าง “FULL” และ “LOW” ของหม้อพัก ระดับของน้ำหล่อเย็นจะเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิขอเครื่อง  ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า “LOW” ให้เติมน้ำจนถึงระดับ “FULL” 
    • ถ้าระบบน้ำหล่อเย็นลดลงเร็วผิดปรกติอาจเกิดการรั่วซึมที่ใดที่หนึ่งในระบบระบายความร้อนให้ตรวจดูท่อยาง  หม้อน้ำ ฝาปิดหม้อน้ำก๊อกถ่ายน้ำและปั๊มน้ำข้อควรระวัง ห้ามทำการเปิดฝาปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัดโดยเด็ดขาด
    สายพานพัดลม
    สายพานพัดลม
    • ตั้งความตึงของสายพานพัดลมไม่ได้ตามค่ากำหนด  การตรวจความตึงของสายพานเบื้องต้นโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงกึ่งกลางระหว่างศูนย์
    การตั้งสายพาน
    การตั้งสายพาน
    1. คลายนัทที่ยึดอัลเตอร์เนเตอร์ (ไดร์ชาร์ท) ตัวล่างและตัวบนออกให้อัลเตอร์เนเตอร์สามารถขยับตัวได้
    2. เลื่อนอัลเตอร์เนเตอร์จนสายพานตึงตามค่ากำหนดแล้วจึงขันนัทที่คลายออกให้แน่น
    3. ตรวจสอบความตึงของสายพานเบื้องต้นโดยใช้หัวแม่มือกดและต้องไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป
    คำแนะนำ
    • หากมีการปรับตั้งความตึงสายพานควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อใช้เครื่องมือวัดค่าความตึงของสายพานทุกครั้ง
    การตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง
    น้ำมันเครื่อง
    • ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมา และเช็ดให้สะอาด  แล้วสอดกลับเข้าไป และดึงออกมาอีกครั้งแล้วตรวจสอบระดับ ถ้าต่ำกว่า "L" ให้ทำการเติมให้ได้ระดับด้วยน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามกำหนดของเครื่องยนต์รุ่นนั้น
    การตรวจระดับน้ำมัน
    1. จอดรถอยู่บนพื้นราบควรวัดระดับน้ำมันเครื่องในขณะเครื่องยนต์เย็น (ตอนเช้าก่อนใช้รถ)   แต่ถ้าจะวัดขณะเครื่องร้อนต้องวัดหลังจากดับเครื่องประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่อง
    2. ชักก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็ดน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
    3. สอดก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับจนสุด
    4. ชักก้านวัดออกมาอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำมันอยู่ระหว่างขีด”F” และ “L” ใช้ได้แต่ถ้าระดับอยู่ที่ L หรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องทันทีและอย่าให้เกินขีด F
    ถ้าระดับน้ำมันเครื่องสูงเกินไป
    1. น้ำมันเครื่องจะดันผ่านแหวนลูกสูบขึ้นไปเผาไหม้รวมกับน้ำมันเพลิง จะทำให้ควันไอเสียมีสีขาว
    2. น้ำมันเครื่องจะดันออกทางซีลด้านหน้า – ด้านหลังของเพลาข้อเหวี่ยง  ทำให้รั่วซึมได้ง่าย
    3. ทำให้เกิดแรงดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยง(ห้องแคร้ง)สูง จะดันให้น้ำมันเครื่องทะลักออกมาทาง ท่อระบายไอ
    ถ้าระดับน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป
    • ปั๊มน้ำมันเครื่องไม่สามารถดูดน้ำมันไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ  ผลทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เสียหายอย่างรวดเร็วหรือเครื่องพัง
    การตรวจเช็คระดับน้ำมันพาวเวอร์
    การตรวจเช็คระดับน้ำมันเพาเวอร์ในหม้อพัก
    1. ตรวจเช็คระดับน้ำมันเพาเวอร์ที่อยู่ในระดับร้อน(HOT  LEVEL) ของถังด้วยก้านวัด ถ้าน้ำมันเพาเวอร์ต่ำเกินไป  ให้เติมน้ำมันที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ให้ได้ระดับที่กำหนด
    2. ถ้าน้ำมันเพาเวอร์เย็น  ตรวจเช็คระดับน้ำมันในตำแหน่งระดับเย็น (COOL LEVEL) ของถังด้วยก้านวัด
    ** สำหรับทุก 10 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำมันเพาเวอร์จะทำให้ระดับน้ำมันเพาเวอร์เพิ่มขึ้นประมาณ 1 มม. (0.039 นิ้ว) **
    การไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
    การไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (ควรเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการ)
    • มื่อน้ำมันเชื้อเพลิงหมดถังหรือหลังจากการถ่ายน้ำออกจากกรองน้ำมันเชื้อเพลิง  ถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นให้ไล่ลมออกตามขั้นตอนดังนี้
    1. คลายสกรูไล่ลมหมายเลข 1 เปิดให้ฟองอากาศและคลายปั๊มหมายเลข 2  ออก  โดยการกดลงบนปั๊มแล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา  จนกระทั่งสปริงดันปั๊มขึ้นสูงสุด
    2. กดปั๊มขึ้นลง  จนกระทั่งไม่มีฟองอากาศออกมากับน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริเวณสกรูไล่ลมแสดงที่อากาศออกจากระบบเชื้อเพลิงหมดแล้ว
    3. ขันสกรูปิดให้แน่นดังเดิม
    4. ล็อกปั๊มโดยการกดลงบนปั๊ม แล้วขันตามเข็มนาฬิกาจนกว่าจะสุดเกลียว
    เรื่องของไส้กรองอากาศ
    ถ้าไส้กรองอากาศตัน จะมีผลเสียดังนี้ 
    • เกิดส่วนผสมหนา ทำให้การเผาไหม้ไม่หมดจด กินน้ำมันเชื้อเพลิงมาก กำลังงานที่ได้มา (แรงม้า) น้อยควันไอเสียมีสีดำวิธีการตรวจไส้กรองอากาศดูว่าตันหรือไม่ ทำได้โดยเปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศออกขณะ ที่เครื่องยนต์กำลังหมุนอยู่ ถ้าเครื่องยนต์หมุนเร็วขึ้น ควันไอเสียที่มีสีดำหายไป แสดงว่าไส้กรองอากาศตัน
    การตรวจน้ำมันเบรคและคลัชท์
    การตรวจน้ำมันเบรคและคลัชท์
    1. ระดับน้ำมันเบรคในกระปุกสามารถมองเห็นได้ ซึ่งระดับของน้ำมันเบรคควรอยู่ใกล้เคียงกับระดับที่ถูกต้อง ควรตรวจระดับน้ำมันเบรคทุกครั้งที่ตรวจน้ำมันเครื่อง เมื่อผ้าเบรคสึกเนื่องจากการใช้งานน้ำมันเบรคอาจลดลงบ้าง เติมให้เต็มอยู่เสมอ
    2. การเติมน้ำมันเบรคและคลัชท์ ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจากน้ำมันเบรคและคลัชท์เป็นอันตรายต่อดวงตาและทำลายสีของรถได้ อย่าใช้น้ำมันเบรคและคลัชท์ที่เปิดใว้นานเกิน 1 ปี เนื่องจากน้ำมันเบรคดูดความชื้นจากอากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อประสิทธิภาพของระบบเบรค ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนน้ำมันเบรคเป็นระยะ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยปกติเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี
    การตรวจสายหัวเทียน
    การตรวจสายหัวเทียน
    การตรวจสภาพสายหัวเทียน ต้องอยู่ในสภาพที่ไม่มีรอยฉีดขาด สายหัวเทียนไม่ลุดออกจากเบ้า หัวเทียนเพราะจะทำการจุดระเบิดไม่สมบูรณ์
    การตรวจดูระบบสัญญาณและไฟแสงสว่างหน้าปัทม์